ท่อพีวีซีคืออะไร? มีแบบไหนบ้าง?
[มาตรฐานสีท่อในอาคาร ปี 2564]
มือใหม่ที่กำลังศึกษาเรื่องท่อ อาจจะสับสนกับท่อชนิดต่างๆ เพราะมันมีให้เลือกเยอะเหลือเกิน สีฟ้า สีเหลือง สีขาว ไหนจะมีผู้ผลิตหลายโรงงานอีก แล้วท่อพีวีซีมันคืออะไร? แต่ละอย่างมันต่างกันยังไงก็นะ?
ท่อพีวีซีคืออะไร?
ท่อพีวีซี คือ ท่อที่ทำมาจากวัสดุพีวีซี (ย่อมาจาก โพลิไวนิลคลอไรด์ Polyvinyl chloride) หรือก็คือท่อพลาสติกที่คนนิยมใช้ในการก่อสร้างและทำระบบต่างๆ จุดแข็งของท่อพีวีซีก็คือมีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง และมีอายุการใช้งานที่ยาวถึง 50 ปี
สาเหตุที่คนนิยมใช้ท่อพีวีซีมากขึ้นก็เพราะว่า ท่อพีวีซีมีการใช้งานที่หลากหลาย คุณสมบัติของพลาสติกพีวีซีทำให้ท่อมีความยืนหยุ่นสูงทำให้การออกแบบระบบต่างๆมีความง่ายมากขึ้น ถ้าใช้กับระบบประปาก็จะทนแรงดันน้ำได้ และถ้าใช้กับระบบไฟฟ้าก็จะกันกระแสไฟฟ้าได้
แน่นอนว่าท่อพีวีซีถูกสร้างมาเพื่องานก่อสร้างและระบบแบบเฉพาะทาง ท่อพีวีซีไม่สามารถทนแรงกระแทกได้เยอะ และหากใช้ในแดดหรือโดนแสง UV นานๆ ท่อก็จะเกิดการเปราะในระยะยาว
การใช้งานท่อพีวีซีสีต่างๆ
ถ้าถามว่าท่อแต่ละอย่างใช้แทนกันได้ไหม คำตอบก็คือใช้ได้แต่ไม่แนะนำ เพราะคุณต้องเลือกคุณภาพท่อให้เหมาะสม เช่นความหนาหรือความทนทานควรจะเท่ากัน และผู้ผลิตจะไม่รับรองคุณภาพให้ ถ้าคุณใช้แล้วท่อแตกหรือท่อมีปัญหาภายหลังคุณก็จะไม่สามารถหาคนมารับผิดชอบได้ครับ
ท่อพีวีซี สีฟ้า
เป็นท่อที่ผลิตมาเพื่อการทำระบบประปาต่างๆ มีขนาดตั้งแต่ 1/2” ถึง 16” ซึ่งส่วนมากการประปาในบ้างทั่วไปก็จะใช้กันแค่ 1/2" ถึงแค่ 4” เท่านั้น ท่อพีวีซีสีฟ้าจะมีอยู่สามชั้นความดัน (บางคนก็เรียกว่าท่อหนา ท่อบาง) มาตรฐาน มอก. ไทยกำหนดไว้ว่าท่อแต่ละชั้นความดันต้องทนแรงดันน้ำได้ดังนี้
ท่อพีวีซีชั้น 5 – ทนแรงดันนี้ได้ 5 บาร์ (ราคาถูกสุด)
ท่อพีวีซีชั้น 8.5 – ทนแรงดันนี้ได้ 8.5 บาร์
ท่อพีวีซีชั้น 13.5 – ทนแรงดันนี้ได้ 13.5 บาร์ (ราคาแพงสุด)
สำหรับคนที่ซื้อใช้เอง ถ้าไม่ได้ซื้อจำนวนเยอะมาก ผมแนะนำให้ดูท่อชั้น 13.5 นะครับ ราคาแพงกว่าประมาณ 20-30% แต่ลดปัญหาต้องมาแก้ระบบท่อภายหลัง
ท่อพีวีซี สีเหลือง
ท่อสีเหลือง หรือที่คนเรียกทั่วไปว่าท่อร้อยสายไฟ มีขนาดระหว่าง 3/8” ถึง 4” จริงๆแล้วท่อร้อยสายไฟสีเหลืองก็มีลำดับความหนาเหมือนกัน แต่ขนาดท่อที่คนใช้ในระบบร้อยสายไฟบ้านทั่วไปจะมีแค่ลำดับเดียวก็คือลำดับ 1 หรือตัวที่หนาสุด (เทียบได้กับท่อสีฟ้า 13.5)
สำหรับงานในบ้าน คนทั่วไปจะซื้อท่อร้อยสายไฟขนาดเล็กกัน ผู้ผลิตและร้านค้าส่วนมากเลยไม่ค่อยจะเก็บสินค้าไซส์ใหญ่ไว้เท่าไร
แต่เดิมทีงานร้อยสายไฟถูกกำหนดไว้ว่าให้ใช้แค่ท่อสีเหลือง ตามมาตรฐาน มอก. แต่ในระยะหลังคนเริ่มหันมาใช้ท่อสีขาวกันมากขึ้นเนื่องจากมันดูดีกว่าครับ
ท่อพีวีซี สีขาว
ท่อสีขาวก็เป็นท่อที่ใช้ร้อยสายไฟเช่นกัน ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานไทยมารองรับ เลยทำให้หาซื้อยากหน่อย บางโรงงานก็ทำความยาวสี่เมตร บางโรงงานก็ทำสามเมตร แต่โดยรวมแล้วส่วนมากจะดูมาตรฐานของญี่ปุ่น หรือ JIS
ภายหลังคนเริ่มนิยมนำท่อพีวีซีสีขาวมาใช้ในการเกษตรบางประเภท ปกติแล้วคนจะใช้ท่อพีวีซีสีฟ้าเพราะมีราคาถูก แต่ท่อสีฟ้าจะดูดแสง UV มากกว่าท่อสีขาวเลยทำให้ท่อเปราะง่าย ทำให้ตัวเลือกของคนทำเกษตรคือซื้อท่อสีฟ้าแล้วนำมาทาสีขาวเอง หรือจ่ายเงินมากหน่อยเพื่อซื้อท่อสีขาวแทน (ราคาแพงกว่า 20-30% ไม่มีขนาดใหญ่ แถมหาซื้อยากกว่า)
ท่อพีวีซี สีเทา
ท่อพีวีซีสีเทาใช้ในงานท่อน้ำทิ้ง สีเทาเป็นการบ่งบอกให้คนใช้ท่อรู้ว่า น้ำที่ผ่านท่อสีนี้ไม่สามารถทานหรือใช้การได้ ท่อสีเทาเป็นท่อบาง ทนแรงดันน้ำได้น้อย และมีราคาถูกกว่าท่อสีฟ้ามาก
ภายหลังคนเริ่มนิยมนำท่อสีฟ้าชั้น 5 (ท่อสีฟ้าราคาถูก) มาใช้แทนท่อสีเทาบ้าง เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายกว่า
ผู้ผลิตท่อพีวีซีมีใครบ้าง
ผู้ผลิตท่อพีวีซีที่คนรู้จักส่วนมากคือ ท่อตราช้าง (SCG) และท่อน้ำไทย
ในฐานะผู้ใช้ ท่อพีวีซีตราช้างจะราคาดีกว่าท่อน้ำไทยนิดหน่อย แต่อย่างไรก็ตามท่อพีวีซีจะมีข้อจำกัดเรื่องการจัดส่งอยู่เยอะ หากคุณไม่ได้ซื้อในจำนวนมากผมคิดว่าซื้ออะไรก็ได้ที่หาง่ายกกว่าก็พอครับ หากคุณซื้อในจำนวน 5000 ถึง 10,000 บาทขึ้นไป ค่อยหาวิธีลดต้นทุนด้วยการหาตัวแทนจำหน่ายอีกที
ในด้านราคา ท่อพีวีซีจะมีราคาตั้งเท่ากัน ราคาตั้งคือราคาที่กำหนดมาตามอุตสาหกรรม บางร้านอาจจะขายแพงกว่า ถูกกว่านิดหน่อย เปรียบเทียบได้กับราคามือถือ iPhone ที่ผู้ผลิตตั้งอย่างหนึ่ง ผู้ขายตั้งอีกอย่างละกันครับ
ผมได้ทำตารางเพื่อเปรียบเทียบราคาของท่อแต่ละผู้ผลิตไว้ สามารถเข้าไปศึกษาได้ดังนี้ อย่างไรก็ตามราคาก็ขึ้นอยู่กับ จำนวนซื้อและผู้จัดจำหน่ายอีกทีนะครับ
เปรียบเทียบท่อพีวีซีตราช้าง กับ ท่อท่อน้ำไทย
ราคาของทั้งสองผู้ผลิตเปรียบเทียบยากเพราะตัวแทนจำหน่ายแต่ละคนขายราคาไม่เท่ากัน (ทั้งสองโรงงานไม่จำหน่ายโดยตรง)
ตราช้างหรือ SCG คือแบรนด์ใหญ่ที่ผลิตวัสดุก่อสร้างเกือบทุกชนิด ข้อดีก็คือมีการการันตีคุณภาพในระดับหนึ่ง เพราะเค้าเป็นบริษัทมหาชน คงไม่ปล่อยท่อคุณภาพแย่มาแน่ๆ นอกจากนั้นท่อตราช้างยังมีผู้จัดจำหน่ายเยอะ หาซื้อได้ง่ายกว่า
ท่อน้ำไทยเป็นเจ้าที่คนน่าจะรู้จักดีที่สุด คนใช้ทั่วไปจะบอกว่าท่อน้ำไทยคุณภาพดีกว่าท่อตราช้าง แต่ราคาก็แพงกว่านิดหน่อย ในความเห็นผมคิดว่าทั้งสองตราคุณภาพเท่ากันครับ
ราคาที่ต่างกันจะอยู่ในหลักไม่กี่เปอร์เซ็นต์ (2-5%) หากคุณเจอราคาที่ห่างกันมากกว่า ให้ลองหาเจ้าอื่นดูอีกทีนะครับ ปัญหาที่ผมเห็นผู้ซื้อท่อมือใหม่เจอก็คือ
สับสนท่อตราเสือ กับท่อ SCG (ตราช้าง) ท่อตราเสือเป็นแบรนด์ท่อพีวีซีรองของท่อตราช้าง ทั้งสองแบรนด์อยู่ในบริษัทเครือ SCG เหมือนกัน บางครั้งผู้ซื้อไม่รู้หรือผู้จัดจำหน่ายอธิบายไม่ครบก็ทำให้สับสนได้ ท่อตราเสือจะมีคุณภาพแย่กว่าตราช้าง กับน้ำไทย แต่ก็มีราคาถูกกว่าประมาณ 5-7%
ไม่ได้เจอผู้จัดจำหน่ายโดยตรง ร้านที่รับท่อตราช้าง และท่อน้ำไทยมาโดยตรงจะมีไม่เยอะ (เรียกว่า ยี่ปั๊ว ส่วนมากขายราคาดีแต่จำนวนสั่งขั้นต่ำเยอะ) ร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของทั้งสองแบรนด์โดยตรงยิ่งมีน้อยใหญ่ ในกรุงเทพมีแค่ 3-4 เจ้าเท่านั้น หากคุณไปถามร้านขายท่อทั่วไปแล้วเจอว่าตราช้างแพงกว่าน้ำไทยมาก อาจจะเป็นเพราะว่าเค้าเอามาจากผู้จัดจำหน่ายน้ำไทยโดยตรง แต่ไม่ได้รับมาจากตราช้างโดยตรง อันนี้ก็พิจารณาดูครับว่าอยากหาร้านใหม่หรือเปล่า
เพราะฉะนั้นเวลาไปเจอตัวแทนจำหน่าย ข้อแนะนำที่ดีที่สุดคือ 1. ให้เปรียบเทียบระหว่างสองยิห้อนี้เผื่อตัวแทนจำหน่ายรับมาราคาไม่เท่ากัน 2. ให้ลองเปรียบเทียบราคาระหว่าง 2-3 ตัวแทนจำหน่ายดูเพื่อหาคนที่ราคาดีที่สุด
แต่ถ้าคุณสั่งจำนวนไม่เยอะและไม่อยากทำให้ระบบมันยุ่งยากก็แล้วแต่วิจารณญาณของคุณนะครับ บางทีถ้าสั่งจำนวนไม่เยอะแล้วไปเจอตัวแทนจำหน่ายขายส่งเค้าก็อาจจะหารถมาส่งออเดอร์คุณไม่ได้
สุดท้ายนี้ผมได้รวบรวมข้อมูลราคาขายท่อแต่ละแบรนด์มาไว้หน้าเดียวกับ หากใครสนใจซื้อท่อผมแนะนำที่นพดลพานิช
-----------------------------------------------------
นพดลพานิช จำหน่ายท่อน้ำ ท่อPVC
-----------------------------------------------------
CR: https://www.torpvc.com/
นพดลพานิชเปิดให้บริการทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 8:00-17:00 น.
แผนที่ร้าน สำนักงานใหญ่ คลิกที่นี่
แผนที่ร้าน สาขาสันกำแพง (สี่แยกต้นเปา) คลิกที่นี่
053-261000 (นพดลพานิช)
081-8815735 (SCG Home Solution)
065-5106092 (คลังเซรามิคเชียงใหม่)
065-2136667 (ช่าง Expert)
กดติดตาม เพื่อไม่พลาดทุกข่าวสารและโปรโมชั่น
Website: https://nopadol.com/
Youtube: นพดลพานิช
Line: @nopadol